การวางตัวอย่างไร ให้อยู่ได้ในองค์กร

การวางตัวอย่างไร ให้อยู่ได้ในองค์กร


1. สร้างอัตตมโนทัศน์ ที่ตรงตามความเป็นจริง


     อัตตมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองเป็นความคิดความรู้สึกที่เป็นข้อสรุปต่อตน เองของบุคคลความคิดความรู้สึกดังกล่าว เป็นผลิตผลจากประสบการณ์ในชีวิตที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างอัตตม โนทัศน์เป็นภาพทั้งหมดของบุคคลในความคิดคำนึง ซึ่งมิได้เจาะจงที่จุดใดจุดหนึ่ง

     โดยเฉพาะ เช่นไม่เจาะจงว่าเป็นคนสูงมาก อ้วนมาก โกรธง่าย หงุดหงิด หรือเป็นคนอารมณ์ขัน ฯลฯ หากแต่ เป็นความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในภาพรวมทั้งหมด เช่น ความรู้สึกเกี่ยวกับสภาพอารมณ์และร่างกายทั้งหมด กิจกรรมทุกอย่างที่ปฏิบัตทุกสิ่งที่ปฏิบัติและล้มเหลว รวมทั้งความรู้สึกของบุคคลที่ว่าบุคคลอื่นมองเขาอย่างไร ฯลฯ

    
ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เกิดจากการที่บุคคลติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ได้จากการสังเกตกิริยาอาการของผู้อื่นที่แสดงต่อตนจากการได้รับ การยอมรับ หรือไม่ได้รับการยอมรับ จากตำแหน่ง หน้าที่ในสังคม ฯลฯ ซึ่งอัตตมโนทัศน์เหล่านี้จะมีทั้งบวกและลบ แต่อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ บุคคลแต่ละคนมิได้มีอัตตมโนทัศน์ที่ถูกต้องเที่ยงแท้เสมอไป บางครั้งมีการเข้าใจตนเองผิดจากประสบการณ์บางประการ

     โดยอาจจะมองบวกมากไปเกี่ยวกับตนเอง เช่น มีเสน่ห์แรง ทำงานเก่งสติปัญญาเป็นเลิศหรืออาจจะมองลบเป็นส่วนใหญ่ เช่น อาจคิดว่าตนเองพูดไม่เป็นอ่อนแองุ่มง่าม บุคลิกภาพไม่ดี ฯลฯ คนบางคนมองแต่แง่ดีในตัวเองไม่ยอมรับข้อเสีย บางคนมองแต่ข้อเสียไม่ยอมรับข้อดีแท้ที่จริงแล้วบุคคลมักจะมี ทั้งข้อดีและข้อจำกัดในตัวเองซึ่งบุคคลควรที่จะพยายามสร้างอัตตมโนทัศน์ให้ ตรงตามความเป็นจริง โดยหมั่นสำรวจตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ


     โดยอาจจะพูดหรือเขียนประโยคต่างๆที่เป็นการบรรยายตนเองแล้วพูดคุยกับผู้ใกล้ ชิดว่าบุคคลเหล่านั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่พูดหรือเขียนอย่างไร หรืออีกวิธีหนึ่งที่อาจจะช่วยให้การสำรวจตรวจสอบตนเองเป็นไปได้ด้วยดีคือการ ใช้แบบสำรวจตนเอง ซึ่งบุคคลจะต้องควบคุมตนให้ตอบอย่างซื่อตรงและจริงใจต่อตนเองเพื่อให้ค้นพบ ตัวเองที่แท้จริง

     ปัจจุบันมีผู้สร้างแบบสำรวจตนเองเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ไว้มากตัวอย่างแบบ สำรวจตนเองชุดหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น แบบสำรวจชื่อ “มองตนเพื่อสร้างสัมพันธ์”ของวัชรี ธุวรรม อันเป็นแบบสำรวจที่สร้างและปรับปรุงขึ้นเพื่อใช้สำหรับให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเอง ในลักษณะของตนบางด้านที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคม เพื่อให้รู้จักตนเองเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับลักษณะทางสังคมของตนเพื่อให้เกิดการ พัฒนาตนด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานในหน้าที่ได้ด้วย มองตนเพื่อสร้างสัมพันธ์

2. การมองตนเองและผู้อื่นในทางที่ดี

     นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ซึ่งโดยมากมักเป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มีความเห็นว่าเรื่องของมนุษยสัมพันธ์นั้นควรเริ่มที่ตัวเองเป็นจุดแรกทั้ง นี้เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าการที่บุคคลรู้สึกต่อผู้อื่นเช่นไรส่วนใหญ่มัก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตนเองถ้ามีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมองตน เองในทางที่ดี ก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกต่อผู้อื่นในทางที่ดี และมองผู้อื่นดีด้วย

     คำว่า “มองตนเองในทางที่ดี” ในความหมายของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมนั้นมิได้หมายความว่าจะให้บุคคลหลอก ตนเองไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็ให้มองดีไปหมด แต่หมายถึงการมุ่งให้ความสนใจกับจุดดีของตนเอง การคิดถึงตนเองในจุดที่ดีงาน เช่น มีน้ำใจ รับผิดชอบ ตรงเวลา รักความยุติธรรม ฯลฯ จะส่งผลให้ยึดปฏิบัติในสิ่งดีดังกล่าวจนอาจไม่มีเวลาคิดไม่ดี ทำไม่ดี ด้วยกระบวนการดังกล่าวนี้นักจิตวิทยาเชื่อว่า จะยิ่งทำให้ตนเองมีความดีเพิ่มขึ้นส่วนความไม่ดี ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้ จะทำให้เกิดความคิดความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองเพิ่มขึ้น


ที่มา : http://th.jobsdb.com

 2025
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์