สิ่งดีๆ ที่คุณมองข้าม

สิ่งดีๆ ที่คุณมองข้าม


      โดยปกติคนเรามักไม่ค่อยใส่ใจต่อสิ่งของใกล้ มือใกล้ตัวเท่าไรนัก และมักจะมองข้ามสาระสำคัญๆ ไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งบางครั้งสาระเหล่านั้น มีคุณค่าต่อตัวเราอย่างมากมาย ถ้าเรานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง เช่นเดียวกันกับเรื่องราวในธนบัตรไทยของเราก็เช่นกัน


      คุณผู้อ่านแทบทุกผู้คนต่างพกติดตัวเอาไว้จับจ่ายใช้สอยอยู่ทุกวัน แต่สิ่งที่เรารู้ค่าของมันก็คือตัวเลข ที่ปรากฏอยู่บนธนบัตร ในส่วนอื่นๆ เรามักไม่สนใจที่จะดู ถึงจะดูบ้างก็ดูแค่ผ่านๆ ไม่ได้พินิจพิเคราะห์ว่ามีอะไรอยู่บนธนบัตรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ลายเส้น พระบรมสาทิสลักษณ์ ลวดลายที่ปรากฏ ทั้งๆ ที่เรื่องราวที่ปรากฏในธนบัตรของไทยนั้นแฝงเร้นไว้ในธนบัตรทั้งด้านหน้าด้าน หลังล้วนเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษาทั้งสิ้น

      เป้าหมายผู้ออกแบบและผู้ผลิตนั้นชัดเจนสุดคือ เพื่อให้คนไทยได้รู้คุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวกระตุ้นให้เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่ เรียน รู้จักสังเกต และเก็บเกี่ยวความรู้ที่มีอยู่มากมายรอบๆ ตัวเรา นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการดำรงชีวิตในสังคม อย่าปล่อยให้ผ่านเลยไปอย่างไร้คุณค่า

      วันนี้ผมนำสาระน่ารู้จากธนบัตร แค่ 3 ฉบับมาเล่าสู่กันฟัง แต่ละฉบับที่นำมาเสนอนั้นแฝงนัยอย่างสำคัญที่สุด

      ฉบับละ 1,000 บาท ด้านหลัง มุมขวาล่าง เป็นพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยต่อพสกนิกร ในขณะที่บ้านเมืองประสบปัญหาอยู่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ จนรัฐบาลต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2540 กิจการในวงการธุรกิจต้องล้มไปมากมาย เป็นผลให้คนไทยตกงาน ว่างงาน เป็นหนี้เป็นสินกันถ้วนหน้า


      หากจะวิเคราะห์กันแล้วก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ คนไทยเรากำลังหลงทางในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ใช้เงินเกินตัวฟุ่มเฟือย จนในที่สุดก็ถึงขั้นวิกฤต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสแนะนำแก่ปวงชนชาวไทย ให้รู้จักประหยัดอดออมให้ดำรงชีวิตอย่างเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหาภาวะ วิกฤตตั้งแต่รากหญ้า ดังข้อความในธนบัตร ความว่า “เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง” จำกันได้มั้ยครับ

      ขณะที่ธนบัตร ฉบับละ 500 ด้านหลังตรงมุมล่างขวา มีข้อความ ซึ่งเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2330-2394) ความว่า “การงานสิ่งใดของเขาที่ดี ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว”

      ความหมายในพระราชดำรัสนี้ คงพอที่จะปลุกจิตสำนึกของคนไทยได้ทุกยุคทุกสมัย การที่เราจะเอาอย่างใครในสิ่งที่ดี ก็ควรเอาอย่าง ควรเรียนรู้ แต่จะรับเอามาทั้งหมด นับถือเลื่อมใสไปเสียหมดนั้น ดูไม่สมควร

      ส่วนธนบัตรฉบับละ 20 บาท ที่เราเคยใช้กันอยู่พักใหญ่และปัจจุบันก็ยังมีอยู่นั้น ก็บันทึกคติ คำสอน แห่งพระราชดำรัสที่เป็นเครื่องเตือนสติและสามารถนำมาใช้ได้ ชนิดที่สอดคล้องกับสถานการณ์ยิ่ง “ถ้าคนไทยทุกคน ถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามทำนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พ.ศ.2468–2489

      สุดท้ายที่ผมนำมาเสนอเป็นเครื่องเตือนสติและแสดงถึงแนวทางแห่งรัฐที่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของไทยทรงตั้งปณิธานได้และกลายเป็นสิ่งที่ สร้างคุณูปการณ์แก่ประเทศชาติอย่างล้นหลามหาที่เปรียบมิได้คือ “การเล่าเรียนในบ้านเมืองนี้จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้”

      ลองทายกันซิว่าบันทึกไว้ตรงไหน ของธนบัตรที่คุณใช้อยู่



ที่มา : http://www.posttoday.com

 1780
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์