จำแนก ความเครียด ออกได้เป็น 2 ประเภท
Acute stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที ด้วยการหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ตัวอย่างที่ทำให้คนเราเกิดความเครียดที่เกิดขึ้น ทันที ได้แก่ เสียงรบกวน ความวุ่นวายในสังคม อากาศร้อนหรือเย็นจนเกินไป ความกลัว ความตกใจ อันตราย หรือเกิดจากอาการหิว
Chronic stress หรือ ความเครียดเรื้อรัง ซึ่งเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวัน และร่างกาย ไม่สามารถตอบสนอง หรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น นานวันเข้าความเครียดนั้นจะสะสมกลายเป็นความเครียดเรื้อรัง ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ได้แก่ ความเครียดในที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความเหงา ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
หากคนเราเกิดความเครียดอาจมีผลเสียต่อ สุขภาพได้ ความเครียดหากเกิดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน เช่น ความเครียดที่เกิดจากความกลัวอันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมต่อสู้ อาการที่เกิดขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง ใจสั่น แต่ถ้าเราสะสมความเครียดจนกลายเป็นความเครียดสะสมเรื้อรัง อาจมีผลต่อโรคทางกายได้ ได้แก่ โรคปวดศีรษะข้างเดียว หรือไมเกรน โรคทางเดินอาหาร ปวดหลัง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ติดสุรา โรคภูมิแพ้ โรคหลอดเลือดสมอง หรือแม้กระทั่งคิดสั้น การป่วยเป็นมะเร็ง ฯลฯ
คุณกำลังเป็นโรคเครียดหรือไม่ สำรวจได้ด้วยตัวเอง
อาการที่แสดงทางกายที่เกิดจากความเครียด ได้แก่ ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ แน่นท้อง นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย มือเย็น ท้องผูก ท้องร่วง จุกท้อง เสียงดังในหู คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ
อาการที่แสดงทางจิตใจ ได้แก่ การตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้น วิตกกังวล ไม่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ หลงลืม เลอะเลือน
อาการที่แสดงออกทางด้านอารมณ์ ได้แก่ โกรธง่าย ร้องไห้ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย มองโลกแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง
อาการแสดงทางพฤติกรรม ได้แก่ รับประทานอาหารเก่ง ติดสุราหรือบุหรี่ เปลี่ยนงานบ่อย โผงผาง แยกตัว ไม่สุงสิงกับใคร
ที่มา : http://www.jobjob.co.th