" บทเรียนสอนใจ"

" บทเรียนสอนใจ"


     สวัสดีค่ะ แฟน ๆ คอลัมน์ของอลิส ก็ผ่านมาแล้ว 2 สัปดาห์ หวังว่าเรื่องที่อลิสนำมาเม้าท์คงจะถูกใจแฟน ๆ คอลัมน์นะคะ เอาเป็นว่าวันนี้อลิสขอเม้าท์ต่อดีกว่า (มีเรื่องเม้าท์เยอะค่ะ) อลิสมีโอกาสคุยกับเพื่อนรุ่นน้องคนนึง เค้าเล่าให้ฟังว่า วันนี้ถูกนายดุ เหตุเพราะจัดทำรายงานส่งลูกค้าผิดพลาด น้องคนนี้ดูหน้าเศร้า ๆ เห็นบอกว่าช่วงนี้โดนนายดุบ่อยมาก เลยมานั่งกลุ้มอกกลุ้มใจ จึงทำให้อลิสมีโอกาสนั่งคุยกับน้องคนนี้นานพอที่จะเล่าถึงบทเรียนสอนใจให้ ฟัง

     เริ่มจากการถามน้องคนนี้ว่า “เรารู้ตัวหรือไม่ว่า เราทำผิดพลาดเรื่องอะไรบ้าง” และ “เราเคยคิดหาทางแก้ไขในสิ่งที่เราทำผิดพลาดนั้น ๆ หรือไม่” แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากที่จะทำผิด เพียงแต่ว่าเราเคยคิดที่จะปรับปรุงไม่ให้เกิดความผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือไม่  ดูเหมือนว่าน้องคนนี้นั่งฟังอย่างตั้งอกตั้งใจมาก จึงทำให้อลิสมีโอกาสชี้แจงถึงหลักการบริหารข้อผิดพลาด จากบทเรียนหรือความผิดที่เคยทำ โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้

     ค้นหาสาเหตุของความผิดพลาด : ก่อนอื่นจะต้องสำรวจและค้นหาต้นเหตุของความผิด ทำไมถึงได้ทำผิดพลาดในเรื่องนั้น ๆ เช่น รีบทำงานจนลืมตรวจทานความถูกต้องของงานที่นำส่ง หรือ งานเยอะมากจึงทำให้มีเวลาที่จะตรวจสอบงานของตนน้อยมาก หรือไว้ใจลูกน้องเกินไปจึงไม่ได้ตรวจสอบงานของลูกน้อง ทั้งนี้การค้นหาสาเหตุของความผิดจะทำให้รู้ตัวว่าคุณจะต้องปรับปรุงตนเองใน เรื่องใดบ้าง

     บอกตัวเองว่าจะต้องปรับปรุง : เมื่อคุณรู้สาเหตุที่จะทำให้คุณทำงานผิดพลาดแล้วล่ะก็ อย่าปล่อยให้ความผิดนั้นลอยนวล โดยจะต้องหาวิธีการไม่ให้ความผิดสามารถเกิดขึ้นได้อีก ด้วยการพยายามบอกและพูดกับตนเองในทางบวกหรือทางสร้างสรรค์บ่อย ๆ ว่า “เราจะไม่ให้ความผิดนั้นเกิดขึ้นอีก” “เราสามารถขจัดหรือแก้ไขข้อบกพร่องของตนได้” “ทุกสิ่งย่อมต้องแก้ไขได้” ซึ่งคำพูดต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเสมือนแรงหรือพลังผลักดันหรือพลังใจให้เราไม่ทำความผิดนั้น ๆ อีก


     ลงมือลุยเต็มที่ : เมื่อเรามีพลังใจและความพร้อมที่จะปรับปรุงตนเองเพื่อไม่ให้ความผิดนั้นเกิด ขึ้นอีก เริ่มวางแผนที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อปรับปรุงตนเองทันที เช่น ใส่ใจกับการตรวจสอบงานก่อนส่งให้หัวหน้า หรือการบริหารเวลาเสียใหม่เพื่อให้เรามีเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบงานหลักหรือ งานสำคัญ ๆ ทั้งนี้ในระหว่างที่ลงมือลุยเต็มที่นั้นคุณอาจจะประสบปัญหาของความผิดที่อาจ จะเกิดขึ้นอีก อย่าต่อว่าหรือดูถูกตนเอง หรือเบื่อหน่ายไปซะก่อน แต่จงคิดไว้ว่า เราพยายามอย่างถึงที่สุดแล้ว วันนี้เราอาจจะพยายามไม่มากพอ แต่วันถัดไปเราจะพยายามแก้ไขใหม่อีกครั้ง

     ประเมินผลตนเองเป็นระยะ : การประเมินตนเองอย่างต่อเนื่องจะทำให้เรารู้ว่าข้อผิดพลาดที่ทำไปแล้วนั้นมี การปรับปรุงบ้างหรือไม่ โดยการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ตนเองหรือการสอบถามหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลที่เราติดต่อด้วยว่าเรามีการปรับปรุงบ้างหรือไม่  การประเมินผลตนเองเป็นระยะนั้นจะทำให้เรารู้ว่าต้นเหตุของความผิดนั้นใช่ สิ่งที่เราคิดไว้หรือไม่ หากว่าเราพยายามปรับปรุงตนเองแล้วและยังไม่มีอะไรดีขึ้น อย่าเพิ่งเบื่อหน่ายหรือท้อแท้ ผิดหวัง  ลองใหม่ค่ะ ต้องพยามยามค้นหาต้นเหตุของความผิดนั้น ๆ ว่าเป็นเพราะเหตุใด

    
หลักปฏิบัติที่กล่าวถึงนั้นเป็นหลักการง่ายๆ ที่สามารถทำได้กันทุกคน และพอหลังจากน้องคนนั้นฟังอลิสอยู่นาน เค้าก็เริ่มปรับปรุงตนเองและนำข้อปฏิบัติที่สอนไว้ไปใช้ค่ะ ดูเหมือนว่าตอนนี้ทำงานดีขึ้น ไม่ค่อยจะมานั่งปรับทุกข์กับอลิสเหมือนแต่ก่อน เห็นไหมค่ะ ทุกคนสามารถปรับปรุงตัวเองได้ เพียงแต่ขอให้เรามีพลังและกำลังใจที่จะนำเอาข้อผิดพลาดเป็นบทเรียนสอนใจไม่ ให้เราทำผิดอีกฉบับนี้ลาก่อนนะคะ  แล้วพบกันฉบับหน้าค่ะ

ที่มา : www.manager.co.th

 1982
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์