การเรียนรู้โดยหลักสามัญสำนึก

การเรียนรู้โดยหลักสามัญสำนึก


การเรียนรู้โดยหลักสามัญสำนึก (Common-Sense Learning)

     ในปัจจุบันการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต ทั้งในเรื่องส่วนบุคคล และการทำงาน โดยเฉพาะการเรียนรู้ในวัยทำงานหรือวัยผู้ใหญ่ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆเพื่อนำไปใช้ใน การทำงานให้ประสบความสำเร็จ แต่รูปแบบของ การเรียนรู้ (Learning)ที่จัดให้อย่างเป็นทางการ ในองค์กรก็คือ การฝึกอบรม (Training)ซึ่ง มุ่งเน้นให้เรียนรู้ในเรื่องงานปัจจุบันของผู้เรียนอีกทั้ง ยังคงนิยมใช้รูปแบบดั้งเดิมที่อาจไม่จูงใจผู้เรียนเท่าที่ควรจนทำให้การ เรียนรู้อาจไม่เกิดประสิทธิผล ทั้งนี้ นักฝึกอบรม วิทยากร หรือผู้เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ในองค์กรคงต้องมีการพิจารณาหลักการเรียนรู้ ซึ่ง ไม่เป็นทางการมากนักและสามารถใช้เป็นทางเลือกในการพัฒนาศักยภาพของคนใน องค์กรนั่นคือ การเรียนรู้โดย หลักสามัญสำนึก (Common-sense learning) ซึ่งมีหลักการ 7 ประการดังนี้

1. การเล่าเรื่อง (Tell Stories) 
     การเล่าเรื่องเป็นจุดกำเนิดของการสอนโดยการเล่าเรื่องนั้นอาจเป็นเรื่องที่ เกิดขึ้นจริง หรือเป็นเรื่องที่สมมุติขึ้น โดยอาจใช้เรื่องที่เล่าเป็น กรณีศึกษา (Case study)เพื่อ ให้ผู้เรียนได้มีการอภิปรายเพื่อหาบทสรุปในเรื่องดังกล่าว หรืออาจใช้เป็นอุทธาหรณ์ให้ผู้เรียนตระหนักรู้ แต่ที่น่าสนใจคือการเล่าเรื่องไม่จำเป็นต้องใช้ในรูปแบบการฝึกอบรมเพียง อย่างเดียว อาจมีการใช้ในการประชุมในโอกาสต่างๆโดยอาจมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งศึกษา และเล่าให้เพื่อนร่วมประชุมฟังเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกันก็เป็นได้

2. การเล่นเกม (Play Games)
     เมื่อย้อนกลับไปในวัยเด็กหลายคนคงนึกถึงบรรยากาศการเล่นเกมซึ่งสนุกสนาน ในการ ฝึกอบรมสมัยใหม่มักใช้เกมเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื่องมาจากเกมมีการ แข่งขัน มีการแพ้ ชนะเกิดขึ้นซึ่งทำให้เกิดความน่าสนใจในการเรียนรู้มากขึ้น โดยการเรียนรู้จากเกมคือการคิดทบทวนว่าเพราะเหตุใดเราจึงแพ้ และเพราะเหตุใดเราจึงชนะ ซึ่งจะทำให้มีการเรียนรู้เกิดขึ้น กล่าวคือมีการสำรวจหาข้อพกพร่องของตนเองและหาวิธีการแก้ไข ส่วนใหญ่การใช้เกมมักใช้ในการเรียนรู้ด้านพฤติกรรม เช่นการปรับทัศนคติ (Attitude) ของผู้เรียนเป็นต้น

3. การสำรวจและการทดลอง (Explore and Experiment)

     การเรียนรู้อย่างยั่งยืนก็คือการเรียนรู้ด้วยตนเองดังนั้นเมื่อมีข้อสงสัย ว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ผู้ที่สงสัยคงต้องแสวงหาคำตอบอย่างจริงจัง ด้วยตนเองว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นคืออะไรซึ่งหลักการนี้สามารถนำมาใช้ในการ สร้างให้คนเกิดการเรียนรู้โดยการเริ่มที่สภาพปัญหาและ มอบให้ผู้เรียนไปหาวิธีการแก้ไข โดยอาจใช้การทดลองเพื่อหาข้อสรุป และนำไปใช้งานจริงต่อไป


4. การใช้รูปภาพ (Use Picture)

     มีคำกล่าวที่ว่าภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดเป็นพันๆคำ เมื่อพิจารณาจะเห็นได้ว่าเมื่อเราจะอธิบาย ข้อความอะไรแก่ผู้อื่นบางครั้งต้องหาถ้อยคำหรือประโยคที่จะสื่อถึงความหมาย ให้เหมาะสม แต่การใช้รูปภาพเพียงรูปเดียวอาจทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนั้นในวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจคือการใช้รูปภาพแทนคำบรรยายที่เป็นตัว อักษร เช่นภาพต่างๆ แผนผัง ตัวแบบ (Model) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเชื่อมโยงความคิด และประยุกต์ใช้ได้ดีขึ้น

5. การใช้ผู้ฝึกสอน (Coach)

     ในการพัฒนาศักยภาพในระดับบุคคลที่ต้องอาศัยการพัฒนาปรับปรุงเฉพาะตัวถ้าใน เรื่องกีฬา เช่นเทนนิส ฟุตบอล ว่ายน้ำ ซึ่งต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เล่นและผู้ฝึกสอนในการเรียนรู้ก็เช่น เดียวกันเมื่อเราประสบปัญหาในการทำงาน หรือต้องการพัฒนาตนเองให้ดีกว่าเดิม คงต้องอาศัยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ดังนั้นองค์กรคงต้องสร้างผู้ฝึกสอนในองค์กรให้มากขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดนี้

6. การเรียนรู้จากผู้อื่น (Learn from others)

     มีคำกล่าวว่า ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จควรเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ ซึงถือได้ว่าเป็น คำกล่าวที่ทำให้คนหลายคนประสบความสำเร็จมามากต่อมากแล้ว ในองค์กร และนอกองค์กรย่อมมีคนที่ประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน ดังนั้นในการเรียนรู้คงต้องใช้การเรียนรู้จากต้นแบบที่ดี เช่นการเรียนรู้จาก ผู้ที่ปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) โดยการเรียนรู้นั้นอาจมีการจัดบรรยายโดยองค์กร หรือการจัดทำเป็นบทความ วารสารภายใน หรือจัดหาหนังสื่อ หรือสื่อต่างๆมาให้พนักงานเรียนรู้

7. การใช้มนุษยสัมพันธ์ (Human relationship)

     เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการอยู่ร่วม กันของมนุษย์ ในสังคมการทำงานก็เช่นเดียวกันถ้าเรามีมิตรที่ดีมากๆ การทำงานย่อมราบรื่นมีแต่คนคอยช่วยเหลือ ดังนั้นในการเรียนรู้ซึ่งต้องใช้ความสัมพันธ์อันดีเป็นเครื่องมือถือเป็น สิ่งสำคัญประการหนึ่งกล่าวคือ เมื่อเราเกิดปัญหาในการทำงานอาจมีบุคคลที่ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเราซึ่งอาจทำให้เราสามารแก้ไขปัญหานั้นได้ ซึ่งการเรียนรู้แบบอาศัยความสัมพันธ์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เช่นมีการแลกเปลี่ยนในการรับประทานอาหารกลางวัน ในงานเลี้ยงต่างๆ หรือแม้ตั้งกลุ่มหรือชมรมต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

     การเรียนรู้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังนั้นผู้ที่ เกี่ยวข้องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เรื่องของการเรียนรู้เพื่อเข้า ใจปรัชญาเพื่อนำมาสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรของตน และเป็นการลงทุนทางปัญญาในระยะยาว


ที่มา : อำนาจ วัดจินดา วิทยาการและที่ปรึกษาด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 4044
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์