กล้าคิดนอกกรอบ คิดในสิ่งที่ต่างจากกรอบความคิดเดิมๆ หรือลึกซึ้งกว่าเดิมได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำความคิดไปปฏิบัติ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่เคยพบมาก่อนได้อย่างฉับพลัน
• คิดสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิม ซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติได้
• แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมได้อย่างสร้างสรรค์
• นำแนวความคิดสร้างสรรค์สู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้
3. กล้าพูดกล้าทำ (Assertive)
กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงความเห็นที่แตกต่างจากคนหมู่มาก กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่เหมาะสม บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวม กล้าตัดสินใจ กล้าเสนอวิธีการทำงานและมุมมองต่างๆ ที่ทำให้งานบรรลุเป้าหมาย ส่งผลถึงตนเองและองค์กรโดยรวม
• แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความมั่นใจและมีจุดยืน โดยไม่ละเมิดสิทธิในการคิดของผู้อื่น
• กล้าวิพากษ์แนวคิด (ไม่ใช่วิจารณ์คน) และกล้าตัดสินใจ
• เสนอแนวทางหรือวิธีการทำงานใหม่ๆ ทั้งในงานที่รับผิดชอบและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม (Risk Taking)
กล้าริเริ่ม กล้าเสี่ยงทำในสิ่งใหม่ๆ บนพื้นฐานของข้อมูลที่มีอยู่ และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้การเสี่ยงบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งกับองค์กรและตัวพนักงานเอง และนำสิ่งที่เป็นบทเรียนจากความสำเร็จหรือความล้มเหลวในอดีต มาประกอบการวิเคราะห์ตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล
• แสวงหาโอกาสในการทำสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายอยู่เสมอ
• วิเคราะห์โอกาส หรือประเมินผลได้ผลเสียจากความเสี่ยง และกล้าลงมือทำ หลังจากที่ประเมินความเสี่ยงแล้ว
• ลดความกลัวที่จะล้มเหลว หรือเรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อป้องกันและแสวงหาโอกาสต่อไป
5. กล้าเรียนใฝ่รู้ (Eager to Learn)
• แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ไม่อายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตนเองและทีมงานอยู่เสมอ สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดวิธีการทำงานหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น
• แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองหรือทีมงานอยู่เสมอๆ
• นำความรู้ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ในการทำงาน
• แบ่งปันความรู้ ความคิด เพื่อการพัฒนาต่อยอด หรือพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ
Inno-Leader (ผู้นำ 3 ประการ)
1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Lead Change through Vision & Values)
กำหนดวิสัยทัศน์หรือทิศทางอนาคตของธุรกิจหรือหน่วยงานอย่างชัดเจน สื่อสารและส่งเสริมให้ผู้ร่วมทีมมีความเข้าใจตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้องค์กรและพนักงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการ และนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
๐ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
๐ กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ชัดเจน
๐ ใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิผล เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจถูกต้องตรงกันเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ และทิศทาง การเปลี่ยนแปลงในอนาคตขององค์กร
๐ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเข้าถึงพนักงานโดยตรง เพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทางระหว่างผู้นำและพนักงาน
อ่านเพิ่มเติม:ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. เป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Facilitate & Support Change)
กระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดกับพนักงาน และสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมทีมแสดงความคิดเห็นและได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ภายในองค์กร
๐ สร้างบรรยากาศองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้คนกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือปฏิบัติ กล้ารับความผิดพลาด
๐ ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ และบริหารกระบวนการนำความคิดสร้างสรรค์ไปทดลองปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ในองค์กร
๐ สนับสนุนทุกรูปแบบเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงสู่ผลสำเร็จและเกิดสิ่งใหม่ๆ ในองค์กร
3. เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำเป็นแบบอย่าง (Execute Change by being the Role Model)
เป็นแบบอย่างของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยการลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง บริหารการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับพนักงานในองค์กร และยอมรับผลอันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง
๐ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น
๐ แสดงให้ทุกคนเห็นว่าตนเองพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
๐ อดทนและควบคุมอารมณ์ต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง
ที่มา : นสพ.กรุงเพทธุรกิจ