แล้วคุณเองมีความมุ่งมั่นหรือความแน่วแน่ในการ ทำงาน ความคิด และการกระทำของตนเองมากน้อยแค่ไหน พบว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานโดยส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่มีความเป็น Assertiveness สูงกว่าคนที่ไม่มี Assertiveness และคุณลักษณะของผู้ที่มีความเป็น Assertiveness นี้เองเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่องค์การต้องการและคาดหวังจากพนักงาน โดยองค์การบางแห่งได้กำหนดเป็นปัจจัยในการประเมินพฤติกรรมหรือความสามารถของ พนักงาน ซึ่งความคาดหวังของพฤติกรรมสำหรับผู้ที่มี Assertiveness จะแตกต่างกันไปตามบทบาทของพนักงาน ดังต่อไปนี้
ระดับ |
|
บทบาทของ |
• สามารถเสนอความคิดเห็นของตนต่อสมาชิกในทีมและผู้อื่นเป็นรายบุคคลได้ |
บทบาทของ |
• ยืนยันความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของตน เมื่อมีผู้สอบถามเนื่องจากมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ |
บทบาทของ |
• นำเสนอมุมมองหรือความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากความคิดเห็นของสมาชิกในที่ประชุมกลุ่มได้ |
บทบาทของ |
• แสดงความคิดเห็นของตนที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้อื่นที่อยู่ภายในองค์การโดยการอ้างอิงถึงข้อมูลต่างๆได้อย่างชัดเจน
|
บทบาทของ |
• ยืนยันความคิดเห็นของตนต่อที่ประชุมกลุ่มในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งหรือมีความเสี่ยงสูง
|
แล้วทำอย่างไรให้ตัวคุณเองมีความสามารถในด้าน Assertiveness การสร้างให้เกิด Assertiveness นั้นไม่ยาก เพียงแต่ขอให้คุณปฏิบัติตามหลักหรือแนวคิดของการพัฒนา หรือหลัก 4 - D ดังต่อไปนี้
พัฒนา ” ความรู้ ” ( Develop your knowledge)ก่อนอื่นคุณจะต้องสำรวจตัวคุณเองก่อนว่าคุณมีความรู้ในสายวิชาชีพของตนมากน้อย แค่ไหน ซึ่งความรู้จะเป็นแรงสนับสนุนให้คุณเกิดความมั่นใจในความคิด การพูด และการกระทำ ทั้งนี้ความรู้สามารถเกิดขึ้นได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังผู้เชี่ยวชาญ การพูดกับผู้รู้ การอ่านหนังสือ และ/หรือการเขียนข้อมูลที่คุณรู้เพื่อบันทึกความทรงจำ และนอกจากความรู้ในสายวิชาชีพของตัวคุณเองแล้ว คุณอาจจำเป็นจะต้องรู้ในสายวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพของตนอีก ด้วย
พัฒนา ” ความคิด ” ( Develop your thinking)ความ รู้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ หากคุณไม่สามารถบูรณาการหรือสังเคราะห์ข้อมูลที่คุณรับรู้มา คุณจะต้องนำความรู้ต่าง ๆ ทั้งหมดที่คุณมีมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยการคิดหาแนวทางที่จะพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานทั้งของตนเองและของ หน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นความคิดริเริ่มหรือความคิดสร้าง สรรค์ของตัวคุณเองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณจะต้องรู้จักฝึกคิดสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
พัฒนา ” การนำเสนอ ” ( Develop your presentation)สิ่ง ที่คุณคิดขึ้นจะสมบูรณ์แบบได้นั้นคุณจะต้องมีความพร้อมและกล้าพอที่จะนำเสนอ ข้อมูลหรือความคิดเห็นของตนเอง โดยการนำเสนอต่อทีมงานหรือต่อที่ประชุมของคุณ คุณจะต้องไม่กลัวข้อคัดค้านหรือข้อโต้แย้งของผู้อื่น คุณจะต้องกล้าเผชิญความจริง และยอมรับในความคิดของผู้อื่น เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ นั้นมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนระบบความคิดของคุณเอง
พัฒนา ” การโน้มน้าวชักจูง ” ( Develop your persuasion) คุณ จะต้องมีหลักหรือเทคนิคในการโน้มน้าวชักจูงให้อีกฝ่ายเชื่อและคล้อยตามความ คิดเห็นหรือสิ่งที่คุณยืนกรานและมั่นใจว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ที่มี Assertiveness นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ มีไอเดีย และสามารถนำเสนอความเห็นของตนต่อผู้อื่นแล้ว คุณควรจะมีวิธีการจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตามและปฏิบัติตามในสิ่งที่คุณนำเสนอ การโน้มน้าวชักจูงให้ผู้อื่นเชื่อนั้นคุณจะต้องมีความมั่นใจและมีความหนัก แน่นของข้อมูลหรือสิ่งที่คุณเสนอ และหากเป็นไปได้คุณควรจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ที่คุณมีประกอบการโน้มน้าว ให้ผู้อื่นมีความคิดเห็นคล้อยตามไปกับคุณด้วย
พบว่าบุคคลที่มี Assertiveness จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากกว่าบุคคลที่ไม่มี Assertiveness เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นจะมีความมุ่งมั่นให้งานหรือโครงการที่นำเสนอประสบ ความสำเร็จ ความพยายามให้คนอื่นเห็นด้วยและปฏิบัติตามในสิ่งที่คุณยืนกรานหรือมั่นใจว่า จะต้องสำเร็จอย่างแน่นอน แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ที่มีความเป็น Assertiveness สูงจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ การรับฟังความคิดเห็นหรือไอเดียจากผู้อื่นที่มีมุมมองที่แตกต่างไปจากคุณ ซึ่งความคิดเห็นเหล่านั้นอาจจะเป็นสิ่งจุดประกายให้คุณมีไอเดียใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของคุณเองก็เป็นได้
ที่มา : อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์