บางคนอาจจะนึกอิจฉาผู้ที่เคยพบปะว่าช่างมีความสุขกับงานซะเหลือเดินทำได้งัย เนี๊ย? และบ่อยๆ ครั้งที่คนเรามักไม่ค่อยมีความสุขในงานที่ทำ หรือบ้างก็มีความสุขในระยะเริ่มต้นที่ทำงานแต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปหน้าที่ เดิมที่รับผิดชอบต้องมีอันเปลี่ยนบทบาทไปแทนที่จะสนุกกับงานมากขึ้น แต่ลึกๆในใจคุณกลับเหนื่อยล้าและเบื่อหน่ายซะนี่
หรือบางคนอาจจะแปลกใจกันตัวเองว่าทำไมงานช่วยถึงออกมาดีกว่างานประจำซะอีก ไม่ต้องสงสัยตัวเองอีกต่อไปแล้ว ลองมาทำแบบทดสอบนี้กัน อาจจะช่วยทำให้คุณรู้จักกับอารมณ์ของงานและคุณได้บ้าง
แบบทดสอบที่นำมาเสนอในอาทิตย์นี้เรียกว่า "แบบทดสอบพฤติกรรมของคน ที่งานต้องการ" เป็นแบบทดสอบที่แปลงมาจากทฤษฎีแรงจูงใจของ Prof. David C McClelland ซึ่งผู้เขียนนำมาประยุกต์เพื่อใช้วัดแรงจูงใจ (Motives)ในเชิงพฤติกรรมของคนที่งานหรือตำแหน่งงานนั้นๆ ต้องการ
ในแบบทดสอบนี้จะมีประโยคสั้นๆ 12 ข้อ สิ่งที่คุณต้องทำก็มีแค่ ให้คะแนนความสำคัญในเรื่องที่คุณมองเห็นว่ามีใกล้เคียงกับงานของคุณมากที่ สุด หรือแสดงความเป็นลักษณะงานที่คุณทำอยู่มากที่สุด โดยมีระดับคะความสำคัญมากหรือน้อยลงไปตามลำดับ ตั้งแต่ 0 ถึง 4 ดังนี้
คะแนน 0 ไม่สำคัญต่องานของท่านเลย
คะแนน 1 มีความสำคัญเพียงเล็กน้อยต่องานของท่าน
คะแนน 2 มีความสำคัญอยู่บ้างต่องานของท่าน
คะแนน 3 มีความสำคัญต่องานท่าน
คะแนน 4 มีความสำคัญอย่างมากต่องานท่าน
เมื่อเข้าใจวิธีการให้คะแนนแบบทดสอบกันแล้ว ก็มาเริ่มต้นทำแบบทดสอบกันได้เลยค่ะ
1. รูปแบบของงานที่คุณทำอยู่นั้น ต้องการการพัฒนาผลการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา
2. ผลการปฏิบัติงานของงานท่านขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติจากงานของผู้อื่น
3. เป็นงานที่คุณต้องทำให้ผู้อื่นประทับใจ
4. เป็นงานที่ต้องช่วยเหลือผู้อื่นบ่อยครั้งเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว
5. เป็นงานที่ใช้เวลาในการคิด หรือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
6. ตัวงานที่ท่านทำอยู่นั้นมีผลกระทบต่อผู้อื่น
7. เป็นงานที่ใช้เวลาสมาคมอย่างไม่เป็นทางการกับผู้อื่น
8. จำเป็นต้องดูแลงานตั้งแต่ต้นจนจบ
9. มีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นในการทำงานและควบคุมงาน
10. เป็นงานที่ต้องอาศัยการชักจูงผู้อื่นเพื่อให้งานสำเร็จ
11. เป็นงานที่ต้องพบปะผู้คนใหม่ ๆ และสนใจในเรื่องของงานและความสำเร็จในหน้าที่การงานของคนเหล่านั้น
12. เป็นงานที่ต้องตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของตนเอง และสามารถรู้ผลการทำงานทันทีที่ทำงานสำเร็จ
เมื่อให้คะแนนระดับความสำคัญในแต่ละข้อของแบบทดสอบกันเสร็จแล้ว ก็ให้คุณนำคะแนนที่ได้แต่ละข้อมารวมกันโดยแบ่งกลุ่มคะแนนออกเป็น 3 หมวด ดังนี้คือ
หมวดที่ 1 นำคะแนนที่ได้จากข้อ 1,5,8,12 มารวมกัน
หมวดที่ 2 นำคะแนนที่ได้จากข้อที่ 3, 4, 7, 11 มารวมกัน
หมวดที่ 3 นำคะแนนที่ได้จากข้อที่ 2, 6, 9, 10 มารวมกัน
คะแนนที่คุณให้ความสำคัญในแต่ละข้อ นั้นคือ
Job-Motive-Requirements หรือ คุณสมบัติในเชิงพฤติกรรมของคนที่งานในตำแหน่งนั้นๆ ต้องการโดย คะแนนในหมวดที่1 เป็นตัวแทนของ Job Achievement Motive, คะแนนในหมวดที่2 เป็นตัวแทนของ Job Affiliation Motive และ คะแนนในหมวดที่ 3 เป็นตัวแทนของ Job Power Motive
Job Achievement Motive เป็นงานที่ต้องการคนที่มีคุณสมบัติ ของคนที่มีความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่น ในการทำงานที่สูงด้วยตัวของคนๆนั้นเอง งานนี้ต้องการให้คนทำงานสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เสร็จแบบเบ็ดเสร็จในขั้น ตอนของงานนั้น
Job Affiliation Motive เป็นงานที่ต้องการผู้ที่ลักษณะ ของคนที่มีอัธยาศัยดี คนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสุขที่จะได้ติดต่อประสานงาน หรือช่วยเหลือ กับ ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ชอบการพบปะสังสรรค์ เพราะต้องมีการติดต่อประสานงาน ช่วยเหลือ สนับสนุน กับภายนอกหน่วยงาน
Job Power Motive เป็นลักษณะงานที่ใช้ทักษะการจัดการ การสั่งการ การโน้มน้าว เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายโดยอาศัยผู้อื่นเป็นผู้ลงมือเพื่อทำงานนั้นๆ จนสำเร็จ
ลองสังเกตคะแนนที่คุณให้ในแต่ละหมวดดูสิคะว่าเป็นอย่างไร? หากได้คะแนนในหมวดใดโดดเด่นที่สุด นั่นก็คือคุณสมบัติงานที่คุณทำอยู่นั้นต้องการ
และสำหรับผู้ที่เคยทำแบบทดสอบ Value ที่เคยนำเสนอใน "หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์" ฉบับที่980 (วันที่ 12-18 กันยายน 2548) มาแล้ว ท่านสามารถนำคะแนน การให้ความสำคัญหรือสิ่งที่คุณให้คุณค่า มาเทียบกับคะแนนของแบบทดสอบ Job-Motive-Requirements ทั้งนี้
การเปรียบเทียบจะทำให้คุณได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่คุณให้คุณค่า ให้ความสำคัญ และแสดงออกให้สังคมได้เห็นหรือรับรู้ นั้นเป็นคุณสมบัติที่งานที่คุณทำอยู่นั้นต้องการจากคุณหรือไม่? และแค่ไหน?
เช่นถ้างานของคุณต้องการคุณสมบัติของการใช้ Power สูง แต่คุณกลับไปให้คุณค่าและความสำคัญกับ Achievement ซะสูง ก็คงไม่น่าแปลกที่คุณมักจะรู้สึกกับเหนื่อยกับงานที่ทำอยู่ เพราะคุณเป็นประเภทชอบทำงานด้วยตัวเอง แต่งานต้องการให้คุณใช้ทักษะการจัดการและกระจายงานไปให้ผู้อื่นทำแทน
ที่มา : ดร.จิ ราพร ช้อนสวัสดิ์