สไตล์การแต่งกายมีผลกระทบต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือสรรหาคัดเลือก หรือไม่ ได้เคยมีคนทำวิจัยไว้ในต่างประเทศพอจะนำสรุปผลการวิจัยพอสังเขปดังนี้
ทฤษฏีที่นำมาใช้
1. The theory of symbolic interaction
ทฤษฏีนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าสัญลักษณ์ เป็นสื่อที่แสดงถึงความหมายตามที่ผู้ใช้สัญลักษณ์นั้นต้องการให้ผู้อื่นตี ความหรือแปลความหมายให้เป็นไปตามความปรารถนาหรือที่ตนต้องการ เนื่องจากการแต่งกายถือว่าเป็น “สัญลักษณ์” อย่างหนึ่งสามารถสื่อความหมายได้ว่าบุคคลที่แต่งการสไตล์แบบใด จะมีทัศนคติหรือบุคลิกอย่างใดและยังมีอิทธิพลต่อผู้รับหรือผู้ที่เห็น สัญลักษณ์นั้นด้วย
2. The beautyism effect
ทฤษฏีนี้มีสมมติฐานว่า คนทั่วไปโดยปกติย่อมปรารถนาที่จะทำตัวเป็นที่ดึงดูดหรือเป็นที่สนใจจากบุคคล อื่นซึ่งเป็นความปรารถนาหรือต้องการในส่วนลึกของจิตใจอาจจะแสดงออกมาให้ ปรากฏหรือไม่ก็ได้ทฤษฏีแสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลต่อกระบวนการสรรหาและคัด เลือกคนเข้าทำงาน กล่าวคือ ผู้มีอำนาจตัดสินใจคัดเลือกคนเข้าทำงานมักจะมีความโน้มเอียงที่จะพึงพอใจผู้ สมัครที่แต่งกายดี
3. The similarity effect
ทฤษฏีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่ว่า คนปกติทั่วไปมักจะแสดงตัวให้เหมือนกับสมาชิกในกลุ่มที่สังกัด แม้ว่าในความรู้สึกที่แท้จริงเขาอาจจะไม่ต้องการก็ตาม การแต่งกายก็เช่นเดียวกัน คนที่ทำงานเดียวกันมักจะแต่งกายสไตล์คล้ายๆกัน จิตวิทยาที่คนทั่ว ๆ ไปมักจะเข้าใจว่า การปฏิบัติตัวผิดแผกแหวกแนวไปจากสมาชิกอื่นๆในกลุ่ม จะทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง
ผลการวิจัยทำให้ทราบว่าสไตล์การแต่งกายของพนักงานมีผลกระทบต่อการประเมินผล การปฏิบัติงาน ผู้หญิงจะได้รับคะแนนประเมินสูงกว่าผู้ชาย ถ้ายิ่งการแต่งกายแบบเป็นทางการ ก็จะได้รับคะแนนประเมินสูงกว่าบรรดาเพื่อน ๆ ที่แต่งกานแบบไม่เป็นทางการ
สำหรับท่านสุภาพบุรุษนั้นใช่ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย จริงๆแล้วสามารถนำมาใช้ในบางประเด็น ท่านจะต้องดูว่าผู้บังคับบัญชาของท่าน(ผู้เประเมิน) เป็นหญิงหรือชาย ถ้าเป็นชายท่านต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า เขามีสไตล์การแต่งกายเป็นแบบใด หากเป็นคนแต่งตัวเนี้ยบหรือพิถีพิถันละก็ โปรดจำไว้ว่าคะแนนการประเมินจะหิน แต่ถ้าเป็นคนแต่งตัวตามสบาย ไม่ค่อยพิถีพิถันนัก การประเมินผลการปฏิบัติงานต้องให้คะแนนประเมินสูงกว่า
เมื่อรู้ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้ว ถ้าเป็นอย่างแรก นอกจากท่านจะต้องทำงานดีแล้ว ท่านจะต้องแต่งกายให้มีสไตล์แบบเดียวกับผู้ประเมิน หากเป็นอย่างหลังเมื่อท่านแน่ใจว่าท่านทำงานดีมีผลงานแล้ว ก็ไม้ต้องใส่ใจกับการแต่งกายมากนักก็ได้ อย่าคิดว่าการแต่งตัวสวย ๆ แล้วจะทำให้เจ้านายประเมินผลการทำงานของตัวเองสูงขึ้นและทำให้ได้รับเลื่อน ขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ ขืนมัวแต่สนใจในเรื่องนี้โดยไม่สนใจทำงานทำการแล้วละก็ อาจจะได้รับซองขาวโดยไม่รู้ตัวก็ได้
การทำวิจัยครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาวิจัยในสังคมหนึ่งเท่านั้น หากนำไปวิจัยในต่างที่ ต่างถิ่น ที่มีความแตกต่างในหลาย ๆ ด้าน ผลการวิจัยอาจไม่ตรงกันก็ได้ ซึ่งผู้วิจัยเองก็ยอมรับในประเด็นนี้ “ผลงานที่มีคุณภาพเท่านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประเมินผลการปฏิบัติ งาน”
ที่มา : http://www.one-stophr.com