ทดลองใช้งานฟรี
ปัญหาจุกจิกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับหัวหน้างานได้แก่การที่ลูก น้องมาทำงานสาย ซึ่งคนเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับข้อแก้ตัวที่ฟังขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้าง บางคนเหตุผลก็น่าเห็นใจ แต่ถ้าเห็นใจคนหนึ่ง ปัญหาที่ตามมาก็คือคนอื่นๆ จะยึดเป็นแบบอย่างบ้าง การควบคุมเวลาทำงานของพนักงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตามคงไม่ง่ายนักที่จะยึดตามกฎจนเป็นเส้นตรงถึงขั้นโอนอ่อนผ่อนตาม ไม่ได้ เพราะในบางกรณีการมาสายก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ แนวทางต่อไปนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้
การจัดประชุมพนักงานทั้งหมดเพื่ออบรมถึงเรื่องการมาทำงานสาย ดูเหมือนจะไม่ได้ผลสักเท่าไร อาจจะช่วยแก้ปัญหาในระยะสั้นๆ เช่น พนักงานทุกคนอาจมาทำงานตรงเวลาภายใน 2-3 สัปดาห์หลังการประชุม แต่หลังจากนั้นเหตุการณ์ก็กลับสู่รูปเดิม ดังนั้น ควรจะจัดการกับตัวบุคคลที่มักมาทำงานสายโดยเฉพาะดีกว่า เตรียมรับฟังเหตุผลที่ว่าทำไมพนักงานเหล่านั้นจึงมาสาย และหาข้อแก้ไข/โต้ตอบ
อย่ามีอคติและแสดงอคตินั้นต่อพนักงานที่มาสาย เพราะหากพนักงานสังเกตได้ อาจจะไม่อยากบอกเหตุผลที่แท้จริง ลองใช้คำพูดที่แสดงว่ายืนอยู่ข้างเดียวกับพนักงาน เช่น สมชาย คุณทำงานดีมาตลอดเลยนะ แต่ทำไมระยะหลังๆ นี่ถึงมาทำงานสายละ มีอะไรให้ผมช่วยได้บ้างไหม? เมื่อเริ่มอย่างนี้ สมชายก็จะสบายใจที่จะได้บอกปัญหา เพื่อจะช่วยกันแก้ไขมิให้เกิดการมาสายได้อีกต่อไป การที่หัวหน้างานมีอคติต่อพนักงานั้น
พนักงานจะต้องได้รับทราบถึงกฎระเบียบเรื่องเวลาเข้าทำงานรวมทั้งข้อยกเว้นต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำในกรณีที่มีพนักงานคนใดคนหนึ่งได้รับข้อยกเว้น
ตัวหัวหน้าเองก็ต้องมาเช้าเป็นตัวอย่างด้วย ไม่ว่าคุณจะทำงานถึงดึกดื่นอย่างไรก็ตาม แต่ก็นำมาเป็นข้ออ้างไม่ได้ เพราะหากหัวหน้ามาสายแล้วก็คงไม่แปลกที่ลูกน้องจะทำตามบ้าง อย่า
ที่สำคัญให้พิจารณาและหาทางแก้ปัญหาอย่างที่เป็นไปได้จริง อาจใช้วิธีการใหม่ๆ เข้าช่วย เช่น ปรับเวลาการทำงานให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับพนักงาน เป็นต้น
การเข้าใจพนักงานและมีความเห็นอกเห็นใจเป็นเรื่องที่หัวหน้างานควรทำ การควบคุมพนักงานที่มาสายอย่างที่กล่างมาข้างต้นต้องอาศัยความเข้าใจ และสร้างความเข้าใจซึ่งถือว่าเป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากทำงานมากขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่อาจจะดูเหมือนว่าทำยาก หากแต่มีความเข้าใจทุกอย่างก็จะง่ายเอง.
ที่มา : www.siamhrm.com