การแบ่งประเภทพนักงาน ตามขีดจำกัดความสามารถ

การแบ่งประเภทพนักงาน ตามขีดจำกัดความสามารถ



วันนี้คุณในฐานะผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ซึ่งมีทีมงานอยู่ภายในการปกครองจำนวนหนึ่ง คุณเคยวิเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละคนหรือไม่ ว่าแต่ละคนนั้นอยู่ในช่องไหนของตาราง ถ้าคุณสามารถจัดได้ตามช่องอย่างชัดเจนแล้วการพัฒนาเขาเหล่านี้ก็ต้องใช้วิธีที่แตกต่างกัน ดังนี้

                                                      

                            อธิบายแนวความคิดด้วยภาพ

                       

1. คนที่สามารถและเต็มใจในการทำงาน
คุณต้องคอยท้าทายให้เขาทำงานที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆครับ เพราะคนกลุ่มนี้จะมีความทะเยอทะยานสูง อยากจะเติบโตจึงจะทุ่มเทศักยภาพของตัวเองเต็มที่ในหน้าที่รับผิดชอบ ถ้าเขาทำได้ดีจริงๆ เราก็คงต้อง Promote เขาครับ

2. คนที่มีความสามารถในงานแต่ไม่ค่อยเต็มใจทำงานเท่าไรนัก
คุณต้องค้นหาสาเหตุที่เขาไม่ค่อยได้ใช้ศักยภาพของตัวเองทั้งๆที่เขาทำได้ อาจกำลังเรียกร้องอะไรอยู่ก็ได้ คุณควรทำหน้าที่ในฐานะโค้ชเพื่อดึงศักยภาพของเขาออกมาโดยกระตุ้นให้เขาเห็นประโยชน์ของการ กระทำหน้าที่ให้ดีอย่าทำให้ตัวเองดูแย่ เพราะไม่ยอมทำงานให้ดีเลย

3. คนที่ไม่มีความสามารถแต่มีความในการทำงานนั้น
คนลักษณะนี้ถ้าคุณให้โอกาสเขาได้เรียนรู้เพิ่มเติมโดยการอบรม (training) หรือ On the job training สักระยะหนึ่งเชื่อแน่ว่าเขาจะสามารถทำงานชิ้นนั้นได้สำเร็จและเราก็จะได้ บุคคลที่กลายเป็น ช่อง1มากขึ้นเรื่อยๆครับ

4. คนที่ไม่มีความสามารถและยังไม่ตั้งใจทำงาน
องค์กรใดมีบุคลากรอยู่ในกลุ่มนี้มากเท่าใดองค์กรนั้นก็จะลำบากมากเท่านั้น ดังนั้นคุณในฐานะหัวหน้างาน ควรพัฒนาเขาให้มากหน่อยแต่ก็ต้องกำหนดบทลงโทษไว้ด้วยว่า ถ้าเขาไม่พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นก็ต้อยอมรับผลการกระทำไปด้วย

ตารางนี้สามารถที่จะทำให้เราบริหาร จัดการทีมงานได้ดีขึ้น เพราะแต่ละวิธีจะเหมาะกับแต่กลุ่มบุคคล ดังนั้นควรประเมิน ทีมงานอยู่อย่างสม่ำเสมอว่าเขาเหมาะกับตำแหน่งงานหรือไม่ เพราะทุกช่องเราก็ต้องช่วยพัฒนาเขาอยู่แล้วทำบ่อยๆก็จะแม่นย้ำขึ้นครับ

ที่มา : www.entraining.net

 1918
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

กรมสรรพากร แนะนำให้ประชาชนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นภาษีได้อย่างสะดวก
4460 ผู้เข้าชม
สำหรับมนุษย์เงินเดือนซึ่งรับเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ เงินได้ตามมาตรา 40(1) นั้น นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่จะต้องประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกจ้างไปล่วงหน้าตลอดทั้งปี จากนั้นจะนำภาษีที่คำนวณได้ตลอดทั้งปีนั้น มาเฉลี่ยเป็น “ต่อเดือน” แล้วจึงทำการหัก “ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย” ออกจากเงินเดือนของเราในแต่ละเดือน ทำให้เราได้รับเงินเดือนสุทธิน้อยลง
4231 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สวัสดิการพนักงาน นั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทางบริษัท หรือนายจ้างมอบให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างทุก ๆ คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกจ้างและเพื่อให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับมาเหล่านั้นก็ต้องถูกนำไปคิดคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของเราในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในรอบปีบัญชีนั้น ๆ เว้นแต่สวัสดิการต่าง ๆ ที่เราได้รับ จะถูกจัดอยู่ในข้อบัญญัติตามกฎหมายให้มีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่จะมีสวัสดิการตัวใดกันที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาคำนวณภาษี ค่าคลอดบุตรถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยเลี้ยงทางภาษี ถือเป็นสวัสดิการที่ได้รับการยกเว้นหรือเปล่า และค่าเดินทางเหมาจ่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
24916 ผู้เข้าชม
"เบื่อกับงานตรงหน้า แต่จะลาออกก็ไม่ได้" มาดู 5 เทคนิคฟื้นฟูสภาพจิตใจสำหรับผู้ประกอบการ
1357 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์